1. การโทรคมนาคม
สถานีโทรคมนาคม (องค์การโทรศัพท์) - แห่ง
สถานีขยายสัญญาณโทรคมนาคม 3 แห่ง
ตู้โทรศัพท์ จำนวน - ตู้
หอกระจายข่าว จำนวน 10 แห่ง
2. การไฟฟ้า
เขตตำบลตาเสา เป็นชุมชนชนบท ระบบการไฟฟ้าขยายทั่วถึงทั้งตำบล ประชากรมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนทำให้ประชาชนมีสิ่งอำนวยความสะดวก คือ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เกือบครบทุกครัวเรือน
3. ระบบประปา
ประชาชนในตำบลตาเสา ได้รับการบริการด้านการประปาจากการประปาหมู่บ้านหนองแวง ซึ่งได้ถ่ายโอนให้องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา 1 แห่ง ก่อสร้างใหม่ 4 แห่ง รวมเป็น 5 แห่ง จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการบริการประมาณ 1,110 ครัวเรือน
การศึกษา
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา มีโรงเรียนในพื้นที่ที่ขยายโอกาสทางการศึกษาจำนวน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดบ้านตาเสา และโรงเรียนบ้านมะขามทานตะวัน
การจัดการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา ได้ดำเนินการตามโครงการถ่ายโอนภารกิจการจัดการศึกษาอนุบาล 2 ขวบ ซึ่งปฏิบัติตามนโยบายการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 78 และ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 มาตรา 30 กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายถ่ายโอนการจัดการศึกษาอนุบาล 2 ขวบ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการในปีการศึกษา 2540 โดยให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติงดรับเด็กอนุบาล 2 ขวบเข้าเรียน แต่ให้ความร่วมมือกับท้องถิ่นในการจัดการศึกษาอนุบาล 2 ขวบ โดยสนับสนุนด้านอาคารสถานที่ ด้านวิชาการและครูผู้ดูแลเด็กฯหรือผู้ดูแลเด็กฯ ให้ช่วยดำเนินการสอนต่อไป องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเด็กก่อนวัยเรียน อนุบาล 2 ขวบ จำนวน 2 ห้อง ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา มีบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กอนุบาล จำนวน 10 คน และมีเด็กอนุบาล 2 ขวบ 5 เดือน ปีละประมาณ 90 - 120 คน
จำนวนเด็กปฐมวัยที่เข้าศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา มีอัตราเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบจากปี 2555 เนื่องจากผู้ปกครองเด็กมีภาระหน้าที่ในการประกอบอาชีพ ทำให้ไม่มีเวลาดูแลเด็กในปกครองของตนมากนัก ประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา มีศักยภาพพร้อมที่จะรับเด็กเข้ามาอยู่ในความดูแลขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นในด้านงบประมาณไปจนถึงด้านบุคลากร
การสาธารณสุข
ตำบลตาเสา มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหว้า ตั้งอยู่ที่ บ้านหว้า หมู่ที่ 2 โดยมีบุคลากรดังนี้
1. นางกุลจิรา รอดจันทึก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
2. นางรัศมี คำแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3. นายสัมฤทธิ์ หรั่งมา เจ้าพนักงานสาธารณสุข
4. นางสาวอภิญญา เกณรัมย์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณ
5. นางกาญจนา เทวอนรัมย์ ผู้ช่วยเหลือคนไข้
6. นางสาว.................... พนักงานธุรการ
7. นางอุ่น จะเรรัมย์ นวดแผนไทย
8. นางอัญชิสา นิสังรัมย์ แม่บ้าน
ผู้สูงอายุ ในเขตตำบลตาเสา จำนวนประมาณ…600..คน
ผู้พิการทุพพลภาพ จำนวน…200.…คน แบ่งเป็น
เส้นทางคมนาคม
การคมนาคมของตำบลตาเสา มีถนนสายหลัก คือ ทางลาดยางสายห้วยราช – สตึก และถนน ตาเสา – ระเบิก อยู่ในความดูแลของทางหลวงชนบทและโยธาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ มีการจราจรในแต่ละวัน ไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000 คัน
การคมนาคมภายในตำบล/หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 90,000 ตารางเมตร แยกเป็น
- ถนนสัญจรไปมาสะดวก จำนวน 88,000 ตารางเมตร คิดเป็น 97.70%
- ถนนสัญจรไปมาไม่สะดวก จำนวน 2,000 ตารางเมตร คิดเป็น 2.30%
|